วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

องค์กรมรดกโลก



มรดกโลก World Heritage Site คืออะไร

มรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site; ฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปีพ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
การแบ่งประเภทของมรดกโลก

มรดกโลกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และ มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า
               มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกันระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
               มรดกทางธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำเลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก เป็นต้น


ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกมรดกโลก

ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิ์ได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้               เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบ   และพิจารณาจากองค์กรที่ปรึกษา  ได้แก่ “สภาระหว่างประเทศว่าด้วยโบราณสถานและแหล่งโบราณคดี” (The International Council on Monuments and Sites หรือ ICOMOS) และ "ศูนย์ระหว่างชาติว่าด้วยการศึกษา การอนุรักษ์ และปฏิสังขรณ์สมบัติทางวัฒนธรรม" (The International Centre for the Study of the Preservation and Restoration of the Cultural Property หรือ ICCROM) ในส่วนของมรดกทางวัฒนธรรมและ "สหภาพการอนุรักษ์โลก" (The World Conservation Union หรือ IUCN) ในส่วนของมรดกทางธรรมชาติ แล้วทั้งสามองค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อมรดก

มรดกโลกที่ขึ้นบัญชีเอาไว้ในขณะนี้


ในปัจจุบัน มีมรดกโลกทั้งหมด 911 แห่ง ใน 151 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และอีก 27 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท โดยมีการแบ่งออกเป็น 5พื้นที่ ได้แก่ แอฟริกา อาหรับ เอเชียแปซิฟิก ยุโรป - อเมริกาเหนือ และ อเมริกาใต้ - แคริบเบียน



แอฟริกา


Royal Palaces of Abomey (พระราชวังแห่งอโบมี)
Tsodilo (ทโซดิโล)
Ruins of Loropéni (ซากโบราณสถานโลโรเปนี)
Taï National Park (อุทยานแห่งชาติไต)
Comoé National Park (อุทยานแห่งชาติโกโมเอ) 
Dja Faunal Reserve (เขตอนุรักษ์สัตว์ดจา)
Cidade Velha, Historic Centre of Ribeira Grande (ซิดาด เวเลีย ย่านประวัติศาสตร์ของริเบรา กรันเช)
Manovo-Gounda St Floris National Park (อุทยานแห่งชาติมาโนโว-กูนดา เซนต์ ฟลอริส)
Virunga National Park (อุทยานแห่งชาติวีรุงกา)
Garamba National Park (อุทยานแห่งชาติการัมบา)
Kahuzi-Biega National Park (อุทยานแห่งชาติคาฮูซี-บิเอกา)
Salonga National Park (อุทยานแห่งชาติซาลองกา)
Okapi Wildlife Reserve (เขตอนุรักษ์สัตว์ป่าโอกาปิ)
Simien National Park (อุทยานแห่งชาติซีเมียน)
Lower Valley of the Awash (หุบเขาอาวาชตอนล่าง)
Tiya (ติยา)
Aksum (อักซุม)
Lower Valley of the Omo (หุบเขาโอโมตอนล่าง)
Rock-Hewn Churches, Lalibela (โบสถ์หินสกัดที่ลาลีเบลา)
Fasil Ghebbi, Gondar Region (ฟาซิลเก็บบิแห่งแคว้นกอนดาร์)
Harar Jugol, the Fortified Historic Town (เมืองป้อมปราการประวัติศาสตร์ฮาราร์จูกอล)
Konso Cultural Landscape (ภูมิทัศน์วัฒนธรรมกอนโซ) (New 2011)
Ecosystem and Relict Cultural Landscape of Lopé-Okanda (ระบบนิเวศและภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่ยังเหลืออยู่ของโลเป-โอกานดา)
James Island and Related Sites (เกาะเจมส์และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง)
Stone Circles of Senegambia (วงหินแห่งเซเนแกมเบีย)
Forts and Castles, Volta, Greater Accra, Central and Western Regions (ป้อมและปราสาท โวลตา เกรทเตอร์อัคครา ภาคกลางและภาคตะวันตก)
Asante Traditional Buildings (อาคารพื้นถิ่นของอซันเต)
Mount Nimba Strict Nature Reserve (เขตอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างเข้มงวด ภูเขานิมบา)
Mount Kenya National Park/Natural Forest (อุทยานแห่งชาติ / ป่าธรรมชาติภูเขาเคนยา)
Lake Turkana National Parks (อุทยานแห่งชาติทะเลสาบเทอร์คานา)
Lamu Old Town (เมืองเก่าลามู)
Sacred Mijikenda Kaya Forests (ป่าศักดิ์สิทธิ์มิจิเคนดาคายา)
Fort Jesus, Mombasa (ป้อมเยซู) (New 2011) 
Kenya Lake System in the Great Rift Valley (ระบบทะเลสาบในหุบเขาเกรด รีฟ (หุบผาชัน) แห่งเคนยา) (New 2011)
Tsingy de Bemaraha Strict Nature Reserve (เขตอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างเข้มงวดทซิงงีเดเบมาราฮา)
Royal Hill of Ambohimanga (เขาหลวงอัมโบฮีมังกาเขาหลวงอัมโบฮีมังกา)
Rainforests of the Atsinanana (ป่าฝนแห่งอัตสินานานา)
Lake Malawi National Park (อุทยานแห่งชาติทะเลสาบมาลาวี)
Chongoni Rock-Art Area (เขตศิลปะบนหินชองโกนี)
Old Towns of Djenné (เมืองเก่าของดเจนเน)
Timbuktu (ทิมบัคทู)
Cliff of Bandiagara (Land of the Dogons) (หน้าผาของบันดิอาการา (ดินแดนของชาวโดกอน)
Tomb of Askia (สุสานแห่งอัสเกีย)
ฯลฯ 


อาหรั


Al Qala of Beni Hammad (อัลคาลาแห่งเบนีฮัมหมัด)
Tassili nAjjer (ทาสสิลี นาจเจอร์)
MZab Valley (หุบเขามูซาบ)
Djémila (เจมิลา)
Tipasa (ทิปาซา)
Timgad (ทิมกาด)
Kasbah of Algiers (คาสบาห์แห่งแอลเจียร์)
ฯลฯ
เอเชีย แปซิฟิก
Cultural Landscape and Archaeological Remains of the Bamiyan Valley (ภูมิทัศน์ด้านวัฒนธรรมและซากโบราณสถานแห่งหุบเขาบามิยัน)
Minaret and Archaeological Remains of Jam (หอกระจายเสียงและซากโบราณสถานของแจม)
Kakadu National Park (อุทยานแห่งชาติคาคาดู)
Great Barrier Reef (หินปะการังขนาดใหญ่)
Sydney Opera House (โรงละครโอเปร่าที่ซิดนีย์)
Willandra Lakes Region (ภูมิภาคทะเลสาบวิลลันดรา)
Tasmanian Wilderness (ดินแดนแทสมาเนีย)
Lord Howe Island Group (หมู่เกาะลอร์ด ฮาว)
Gondwana Rainforests of Australia (ป่าฝนกอนวานาของออสเตรเลีย)
ฯลฯ


ยุโรป-อเมริกาเหนือ


Historic Centres of Berat and Gjirokastra (ศูนย์กลางประวัติศาสตร์เบรัทและจีโรคาสตรา)
Butrint (บูทรินท์)
Madriu-Perafita-Claror Valley (หุบเขามาดริอู-เปราฟิตา-คลารอร์)
Monasteries of Haghpat and Sanahin (อารามฮัคพัทและซานาฮิน)
Monastery of Geghard and the Upper Azat Valley (อารามเกการ์ดและหุบเขาอาซัทตอนบน)
Cathedral and Churches of Echmiatsin and the Archaeological Site of Zvartnots (อาสนวิหารและโบสถ์แห่งเอคเมียตซินและแหล่งโบราณคดีซวาร์ทนอทส์)
Fertö / Neusiedlersee Cultural Landscape (ภูมิทัศน์วัฒนธรรมแฟร์โต / นอยซีดเลอร์ซี)
Historic Centre of the City of Salzburg (ศูนย์กลางประวัติศาสตร์เมืองซาลซบวร์ก)
Semmering Railway (ทางรถไฟเซมเมริง)
Palace and Gardens of Schönbrunn (พระราชวังและอุทยานแห่งเชินบรุนน์)
Hallstatt-Dachstein / Salzkammergut Cultural Landscape (ภูมิทัศน์วัฒนธรรมฮาลชตัทท์-ดัคชไตน์ / ซาลซคัมเมอร์กูท)


อเมริกาใต้-แคริบเบียน


Los Glaciares (อุทยานแห่งชาติลอสกลาเซียเรส)
Iguazu National Park (อุทยานแห่งชาติอิกวาซู)
Cueva de las Manos, Río Pinturas (กูเอวาเดลาสมานอส ริโอปินตูราส)
Península Valdés (คาบสมุทรวาลเดส)
Ischigualasto / Talampaya Natural Parks (อุทยานธรรมชาติอิสชิกวาลาสโตและอุทยานแห่งชาติตาลัมปายา)
Jesuit Block and Estancias of Córdoba (ย่านเยซูอิตและเอสตานซิอาสแห่งคอร์โดบา)
Quebrada de Humahuaca (เกบราดาเดอูมาวากา)
Belize Barrier Reef Reserve System (ระบบอนุรักษ์ธรรมชาติแนวปะการังเบลิซ)
City of Potosí (เมืองโปโตซี)
อ้างอิงจาก http://www.thaiwhic.go.th/heritage.aspx 


มรดกไทยที่ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกแล้ว


Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns (เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร)



Ban Chiang Archaeological Site (แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง)












Historic City of Ayutthaya (นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร)












Dong Phayayen-Khao Yai Forest Complex (ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่)












Thungyai-Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuaries (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง)














สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภคีสมาชิกมรดกโลก
สุวิทย์ประกาศไทยลาออกคกก. มรดกโลก            หลังที่ประชุมรับพิจารณาวาระแผนจัดการพระวิหารของเขมรเมื่อวันนี้ (27มิ..54)  เมื่อวันที่  25  มิ. ยเวลาประมาณ 23.50 ตามเวลาประเทศไทย          นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ประกาศในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ยูเนสโก  กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ผ่าน ทวิตเตอร์ @Suwit_Khunkitti ระบุว่า น่าเสียดายนะครับที่หน่วยงานนานาชาติที่มีภารกิจส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรม จะลืมหน้าที่ของตนเองจนทำให้เกิดความขัดแย้งกันในภาคีสมาชิก การตัดสินใจที่คณะกำลังจะดำเนินการในไม่กี่นาทีข้างหน้านี้ เป็นไปเพื่อไม่ยอมให้ใครใช้ข้ออ้างในการรุกเข้ามาในพื้นที่ที่เป็นอธิปไตยของเรา


   ที่ประชุมบรรจุวาระ ผมไม่มีทางเลือกครับ คงต้องถอนตัว ผมได้เคยพูดกับสื่อไทยไปว่าหากสังคมใดดำเนินการตามใจตนเอง ไม่คิดถึงกฎระเบียบที่ลงมติโดยสมาชิกแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ใดๆ ที่เราจะอยู่ในสังคมแบบนี้ กำลังแถลงต่อที่ประชุมครับ คณะผู้แทนพยายามเข้าใจ อธิบาย และอดทนรออย่างเต็มที่แล้ว ผมและคณะนำประเทศไทยถอนตัวจากการเป็นสมาชิกมรดกโลกแล้วครับทั้งนี้นายสุวิทย์ได่นำหนังสือลาออกจากสมาชิกมรดกโลก แสดงต่อสื่อมวลชน http://t.co/nmsJWHKด้าน ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวทีเอ็นเอ็นได้รายงาน ถึงการถอนตัวของประเทศไทย ว่า นายสุวิทย์ ได้ประกาศว่าประเทศไทยขอลาออกจากการเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก โดยให้เหตุผลว่าการที่คณะกรรมการมรดกโลก ได้นำมติวาระการประชุมที่กัมพูชาเสนอมานำเข้าสู่กระบวนการพิจารณา ซึ่งไทยยืนยันมาตลอดว่าเป็นการไม่ถูกต้อง หรือ สัญญาอาจจะทำให้ไทยสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดน ตรงนี้ไทยไม่เคยยอมรับ ขณะที่ประเทศไทยพยายามจะคัดค้านมาโดยตลอด แต่ในเมื่อจะเข้าสู่กระบวนการโหวต ไทยจึงต้องขอใช้สิทธิ์ ในการถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งถือว่าเป็นชาติแรกของโลก ที่ประกาศออกจากสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกอ่านรายงานการถอนตัวในที่ประชุม
          วันนี้ การประชุมทั้งวันเป็นไปอย่างเคร่งเครียด จนเมื่อถึงจุดที่นายสุวิทย์ ประกาศลาออกนั้น ทุกชาติค่อนข้างตกใจเพราะว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งแรก และ ตอนนี้เป็นที่ยืนยันชัดเจนว่า ไทยเราประกาศลาออกจากการเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก และ มีผลโดยทันที ซึ่งขณะยังไม่ทราบท่าทีของกัมพูชาจะเป็นอย่างไร หลังจากกรรมการยืนยันนำเรื่องของกัมพูชาเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลก






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น