วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ASEAN





asean flags2
"One  Vision,One  Identity, One Community"
หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งเอกลักษณ์  หนึ่งประชาคม 

800px-flag_of_asean_svg




พิธีลงนามในปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) หรือปฏิญญากรุงเทพฯ ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
  ความเป็นมาของอาเซียน
      อา เซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Assciation of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ(The Bangkok Declaration ) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้ลงนามใน “ปฏิญญา กรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคง ในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ ของระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ในเวลาต่อมาได้มี บูรไนดารุสซาราม  (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 8 มกราคม 2527)สาธารณรัฐสังคมคมนิยมเวียดนาม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 28 กรกฎาคม 2538) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) สหภาพพม่า (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) ราชอาณาจักรกัมพูชา (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 เมษายน 2542) ตามลำดับทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10ประเทศ   


วัตถุประสงค์หลัก
 ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่ 
    1.  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี
           วิทยาศาสตร์ และการบริหาร 
      2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค 
      3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค 
      4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี 
      5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
      6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
      7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ   
          และองค์การระหว่างประเทศ


       ตลอด ระยะเวลา กว่า 40ปีที่มีการก่อตั้งอาเซียน ถือว่าได้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองเเละความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยได้รับ ประโยชน์อย่างมากจากความร่วมือต่างๆของอาเซียน   ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาค เป็นเสถียรภาพและสันติภาพ อันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมือด้านสังคมและ วัฒนธรรม ซึ่งถ้าหากไม่มีความร่วมมือเหล่านี้แล้ว คงเป็นการยากที่จะพัฒนาประเทศได้โดยลำพัง 
 การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน
ครั้งที่
วันที่
ประเทศเจ้าภาพ
สถานที่จัดตั้งการประชุม
ครั้งที่ 1
23-24 กุมภาพันธ์ 2519
ประเทศอินโดนีเซีย
บาหลี
ครั้งที่ 2
4-5 สิงหาคม 2520
ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์
ครั้งที่ 3
14-15 ธันวาคม 2530
ประเทศฟิลิปปินส์
มะนิลา
ครั้งที่ 4
27-29 มกราคม 2535
ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์
ครั้งที่ 5
14-15 ธันวาคม 2538
ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 6
15-16 ธันวาคม 2541
ประเทศเวียดนาม
ฮานอย
ครั้งที่ 7
5-6 พฤศจิกายน 2544
ประเทศบูรไนดารุสซาราม
บันดาร์เสรีเบกาวัน
ครั้งที่ 8
4-5 พฤศจิกายน 2545
ประเทศกัมพูชา
พนมเปญ
ครั้งที่ 9
7-8 ตุลาคม 2546
ประเทศอินโดนีเซีย
บาหลี
ครั้งที่ 10
29-30 พฤศจิกายน 2547
ประเทศลาว
เวียงจันทน์
ครั้งที่ 11
12?14 ธันวาคม 2548
ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์
ครั้งที่ 12
11?14 มกราคม 25501
ประเทศฟิลิปปินส์
เซบู
ครั้งที่ 13
18?22 พฤศจิกายน 2550
ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์
ครั้งที่ 14
27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552
10-11 เมษายน 2552
ประเทศไทย
ชะอำ, หัวหิน
พัทยา
ครั้งที่ 15
23-25 ตุลาคม 2552
ประเทศไทย
ชะอำ, หัวหิน
ครั้งที่
8-9 เมษายน 2553
ประเทศเวียดนาม
ฮานอย

 หลักการพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน
        ประเทศ สมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ในการดำเนินงานในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏอยู่ในกฎบัตรอาเซียนซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของอาเซียน ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2551 และสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย


- การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ
- สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับจากภายนอก
- หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
- ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
- การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง
- ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก
          นอกจากหลักการข้างต้นแล้ว ตั้งแต่อดีตจนถึงช่วงก่อนที่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้               อาเซียนยึดถือหลักการฉันทามติเป็นพื้นฐานของกระบวนการตัดสินใจและกำหนด นโยบาย มาโดยตลอด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การที่อาเซียนจะตกลงกันดำเนินการใดๆ ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดทั้งสิบประเทศ จะต้องเห็นชอบกับข้อตกลงนั้นๆ ก่อน
      การ ที่อาเซียนยึดมั่นในหลัก ‘ฉันทามติ” และ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน’ หรือที่ผู้สังเกตการณ์อาเซียนเรียกว่า ‘วิถีทางของอาเซียน’ (ASEAN’s Way)ในทางหนึ่งนั้น ก็ถือเป็นผลดีเพราะเป็นปัจจัย ที่ทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ในเรื่องระบบการเมือง วัฒนธรรมและฐานะทางเศรษฐกิจ มีความ ‘สะดวกใจ’ ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก และดำเนินความร่วมมือในกรอบอาเซียน แต่ในอีกทางหนึ่ง“ฉันทามติและ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน”ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในหลาย โอกาสว่า เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กระบวน การรวมตัวกันของอาเซียนเป็นไปอย่างล่าช้า รวมถึงทำให้อาเซียนขาดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากถูกมองว่ากลไกที่มีอยู่ ของอาเซียน ล้มเหลว ในการจัดการกับปัญหา ของอาเซียนเองที่เกิดขึ้นในประเทศสมาชิกใดประเทศสมาชิกหนึ่งได้ อย่างไรก็ดี การยึดถือฉันทามติในกระบวนการตัดสินใจ ของอาเซียน ได้เริ่มมี ความยืดหยุ่นมากขึ้นหลังจากที่กฎบัตรอาเซียน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551  เนื่องจาก กฎบัตรอาเซียนได้เปิดช่องให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน พิจารณาหาข้อยุติในเรื่องที่ประเทศสมาชิกไม่มีฉันทามติได้


โครงสร้างของอาเซียน
โครงสร้างของอาเซียนจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้


สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)
            สำนักเลขาธิการอาเซียนได้จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 1 ในปี 2519 เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและดำเนินงาน
ตามโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมอาเซียน และเป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างสมาคมอาเซียน คณะกรรมการ ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ และรัฐบาลของประเทศสมาชิก
            สำนักเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตาประเทศอินโดนีเซียโดยมีหัว หน้าสำนักงานเรียกว่า “เลขาธิการอาเซียน” ซึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2545 ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 35 ได้แต่งตั้งนาย Ong Keng Yong” ชาวสิงคโปร์ เป็นเลขาธิการอาเซียนคนใหม่แทนนาย Rodolfo C. Severino Jr. เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน โดยจะมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2546) และมีรองเลขาธิการอาเซียนจำนวน 2 คน (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโดยชาว มาเลเซียและเวียดนาม)
สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือกรมอาเซียน (ASEAN National Secretariat)
           เป็นหน่วยงานในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก ซึ่งแต่ละประเทศได้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบ ประสานงานเกี่ยวกับอาเซียนในประเทศนั้น ๆ และติดตามผลของการดำเนินกิจกรรม/ความร่วมมือต่าง ๆ สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการจัดตั้งกรมอาเซียนให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานด้านอาเซียน ดังกล่าว  
 กฏบัตรอาเซียน
      เป็น ร่างสนธิสัญญาที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือ ในการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพกฎบัตรอาเซียน เป็นร่างสนธิสัญญา ที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการวาง กรอบทาง กฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียน ได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ จะมีการจัดทำร่างกฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัว เป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ จะมีการจัดทำร่าง กฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States)

กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับบัตรประจำตัวประชาชน

กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับบัตรประจำตัวประชาชน คือ พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542
กฏหมาย ที่เกี่ยวข้องกับบัตรประจำตัวประชาชน เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นพลเมืองไทย โดยจะต้องเป็นบุคคลผู้มีนสัญชาติไทย มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 70 ปี ต้องยื่นขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือที่ทำการกิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขตที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ มีรายละเอียดดังนี้
  • วิธีการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ใน การขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ขอต้องยื่นคำขอพร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอตามระเบียบที่กรมการปกครอง กำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเวลา 90 วัน นับแต่
  1. วันที่มีอายุครอบ 15 ปีบริบูรณ์
  2. วันที่ได้สัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทยตามกฏหมายว่าด้วยสัญชาติ
  3. วันที่นายทะเบียนเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
  4. วันที่พ้นสภาพจากการได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน
หลักฐานที่ต้องนำไปในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แก่
  1. สูติบัตรหรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบสุทธิ
  2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  3. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุลทั้งของตนเอง และของบิดามารดา
  4. ใบสำคัญประจำคนต่างด้าวของบิดา มารดา หากถึงแก่กรรมให้นำใบมรณบัตรมาแสดง
  5. ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการทำ
  • การขอมีบัตรในกรณีไม่ได้ทำบัตรตามกำหนดระยะเวลามาก่อน หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงมีดังนี้
  1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  2. นำพยานบุคคล เช่น บิดา มารดา เจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือไปให้คำรับรอง
  3. หลักฐานอื่นๆ เช่น สูติบัตรหรือหลักฐานการศึกษา หนังสือสำคัญการเปลี่ยนตัว ชื่อตัว ชื่อสกุล ทั้งของตนเอง และของบิดามารดา (ถ้ามี) ใบสำคัญทางทหาร (ถ้ามี) ใบสำคัญประจำคนต่างด้าว หากถึงแก่กรรมให้นำใบมรณบัตรมาแสดง
  4. เปรียบเทียบปรับไม่เกิน 200 บาท
  5. ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการทำบัตร
  • การขอมีบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ การขอมีบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนใหม่นั้นทำได้ในกรณีดังต่อไปนี้
    1. บัตรเก่าหมดอายุ
    2. บัตรเก่าสูญหายหรือถูกทำลาย
    3. บัตรเก่าชำรุดในสาระที่สำคัญ เช่น รูปถ่ายเจ้าของบัตรฉีกขาดจนไม่เห็นเค้าหน้าของเจ้าของบัตร เป็นต้น
    4. มีการแก้ไขชื่อตัว หรือชื่อสกุล หรือทั้งชื่อตัวและชื่อสกุล ในทะเบียนบ้าน
  • การขอมีบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ ทำได้ในกรณีต่อไปนี้
    1. บัตรเก่าหมดอายุ
    2. บัตรเก่าสูญหายหรือถูกทำลาย
    3. บัตรเก่าชำรุดในสาระที่สำคัญ เช่น รูปถ่ายเจ้าของบัตรฉีกขาดจนไม่เห็นเค้าหน้าของเจ้าของบัตร เป็นต้น
    4. มีการแก้ไขชื่อตัว หรือชื่อสกุล หรือทั้งชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้าน

  • การขอเปลี่ยนบัตรใหม่ เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ
    บัตรประจำตัวประชาชนจะมีอายุใช้ได้คราวละ 6 ปี นับแต่วันที่ออกบัตร เมื่อบัตรหมดอายุ ผู้ถือบัตรนั้นต้องไปยื่นคำร้องขอมีบัตรใหม่ ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง มีดังนี้
    1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
    2. บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ
    3. ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการทำ
  • การขอมีบัตรใหม่ในกรณีบัตรเดิมสูญหาย หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงมีดังนี้
    1. ใบแจ้งความบัตรหาย
    2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
    3. หลักฐานเอกสารซึ่งมีรูปถ่ายของผู้มีบัตรและเป็นเอกสารซึ่งทางราชการออกให้
    4. เสียค่าธรรมเนียมในการทำ 10 บาท
  • การขอเปลี่ยนบัตรเนื่องจากเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนบ้าน หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงมีดังนี้
    1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
    2. บัตรประจำตัวประชาชนบัตรเก่า
    3. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนแปลง เช่น หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า
    4. เสียค่าธรรมเนียมในการทำ 10 บาท
  • ความผิดและโทษของผู้ฝ่าฝืน ไม่ทำตามกฏหมายเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
    1. ไม่ขอมีบัตรภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
    2. บัตรหมดอายุ บัตรหาย บัตรถูกทำลาย เปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ไม่ยื่นขอมีบัตรใหม่ภายใน 60 วัน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
    3. ไม่ส่งมอบบัตรคืนให้กับ พนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วัน หลังจากเสียสัญชาติไทย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    4. ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย หรือแสดงหลักฐานเป็นเท็จเพื่อขอมีบัตร ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นผู้มีสัญชาติไทย หรือใช้บัตรซึ่งตนหมดสิทธิ์ใช้เมื่อเสียสัญชาติไทยแล้ว ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท
    5. เอาบัตรของผู้อื่นไป หรือยึดบัตรของผู้อื่น หรือใบรับรอง หรือใบแทนรับรองของผู้อื่น เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท
    6. ไม่อาจแสดงบัตรหรือใบรับหรือใบแทนใบรับบัตรประจำตัวประชาชนของตน เมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตรขอตรวจ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
  • ผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แก่
    1. พระภิกษุ สามเณร
    2. ข้าราชการ
    3. นักโทษ

ก้าวทันโลกศึกษา 1 พิเศษ 1

อำนาจนิติบัญญัติ
     อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจในการออกกฎหมาย มีรัฐสภา เป็นผู้ใช้อำนาจนี้ ประกอบด้วย

          1. วุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภาได้มาโดยการเลือกตั้งจากประชาชน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 200 คน ทำหน้าที่นิติบัญญัติและตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร

          2. สภาผู้แทนราษฏร สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรได้มาโดบการเลือกตั้งจากประชาชนแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 500 คน เป็นแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน

      อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา คือ ตรากฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารและให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของแผ่นดิน

ผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ ที่มีอำนาจบัญญัติกฎหมาย จึงได้แก่ สถาบันต่างๆ ๖ สถาบัน คือ
(๑) พระมหากษัตริย์
เนื่องจากประเทศไทย ในอดีตมีการปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อัน เป็นระบอบการปกครองซึ่งพระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิขาดในการบริหารประเทศ อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว พระราชโองการ หรือพระบรมราชโองการ เป็นคำศักดิ์สิทธิ์ มาจาก พระดำรัสสั่งของพระมหากษัตริย์ ถือเป็นกฎหมาย และมีผลใช้บังคับอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ ดังจะเห็นได้ว่า คำว่า “พระราชบัญญัติ” ซึ่งหมายความถึงกฎหมาย มีใช้มาตั้งแต่สมัยที่ประเทศไทยมีการปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ภายหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้ว อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย แต่ปวงชนชาวไทยได้ถวายอำนาจอธิปไตยให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงใช้ ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญ กล่าวคือ ทรงใช้ อำนาจนิติบัญญัติ ทางสภาผู้แทนราษฎร (รัฐธรรมนูญฉบับแรก คือฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๕ มีสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร) ทรงใช้อำนาจบริหาร ทางคณะรัฐมนตรี และทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล.หรือ พระเจ้าแผ่นดิน หมายความถึงผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน.(๒) คณะรัฐประหาร
ประเทศไทยมีการ รัฐประหารครั้งแรก เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ต่อมาภายหลังได้มีการรัฐประหารอีกหลายครั้ง เพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐบาล แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่เรียกชื่อคณะรัฐประหารแตกต่างกันไป เช่น คณะปฏิวัติ , คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน, คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ, เป็นต้น.
คณะบุคคลเหล่านี้ เมื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินได้แล้ว ก็ประกาศยกเลิก รัฐธรรมนูญ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แล้วออกประกาศ เรียกว่า ประกาศของคณะปฏิวัติ, คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน, ออก มาใช้บังคับเป็นกฎหมาย และมีการยอมรับกันจนเป็นประเพณีนิยม ทั้ง ศาล และ รัฐบาล ก็ยังถือปฏิบัติ และ บังคับบัญชาให้อยู่จนปัจจุบันนี้ ยังไม่ได้มีการยกเลิกแต่ประการใด. เช่น ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๑ ลงวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ ข้อ ๑๔ เรื่องแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๐, คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๔๑ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ เรื่องแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๙๓ เป็นต้น.คณะรัฐประหารคือ คณะบุคคลที่ใช้กำลังยึดอำนาจ และเปลี่ยนแปลงรัฐบาล.(๓) สภาผู้แทนราษฎร คือสถาบัน หรือองค์การของรัฐ ที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ ทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย ตามบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ซึ่ง ประกาศใช้บังคับ เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ (ขณะนั้นมีสภาผู้แทนราษฎรสภาเดียว ยังไม่มี วุฒิสภา จึงไม่มีรัฐสภา). กฎหมายที่บัญญัติโดยสภาผู้แทนราษฎรก็ยังใช้บังคับอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ เช่น พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๔๙๙(๔) รัฐสภา คือสถาบัน หรือองค์การของรัฐ ที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้ อำนาจนิติบัญญัติ ทำหน้าที่นิติบัญญัติ หรือบัญญัติกฎหมายประกอบด้วย ๒ สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และ วุฒิสภา ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ.(๕) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มี สภานิติบัญญัติสภาเดียว ทำหน้าที่บัญญัติกฎหมายแทนรัฐสภา (ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๓๔ กำหนดให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ)(๖) คณะรัฐมนตรี

คือคณะบุคคลที่รัฐธรรมนูญ บัญญัติให้มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน และบัญญัติให้มีอำนาจ ตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ ในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือในกรณีมีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากร หรือ เงินตรา ซึ่งจะต้องรับการพิจารณาโดยด่วน และลับ เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน ถือได้ว่าเป็นกฎหมายของฝ่ายบริหาร เรียกว่า “พระราชกำหนด”.๓. บทบัญญัติที่เป็นกฎหมาย มี ๒ ประเภท คือ(๑) บทบัญญัติที่ใช้ในการบริหารบ้านเมือง.
(๒) บทบัญญัติที่ใช้บังคับบุคคลในความสัมพันธ์ระหว่างกัน (ไม่เกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง)(๑) บทบัญญัติที่ใช้ในการบริหารบ้านเมืองก่อนที่จะรู้ว่าบทบัญญัติที่ใช้ในการบริหารบ้านเมืองคืออะไร เราจะต้องทราบเสียก่อนว่า การบริหารบ้านเมืองคืออะไร ?การ ทำความเข้าใจในเรื่องนี้จำเป็นจะต้อง ทราบนิยามความหมายที่เป็นภาษาราชการ จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ของถ้อยคำต่างๆดังต่อไปนี้เสียก่อน คือ
“บริหาร” หมายความว่า จัดการ ดำเนินการ ปกครอง.“ปกครอง” หมายความว่า ดูแล คุ้มครอง.“คุ้มครอง”
“ดูแล”
“จัดการ”
“สั่ง”
“แผ่นดิน” หมายความว่า รัฐ.“รัฐ” หมายความว่า แว่นแคว้น บ้านเมือง ประเทศ.“รัฐบาล”
“คณะรัฐมนตรี”
“บ้านเมือง”
“ประเทศ” หมายความว่า ชุมนุมแห่งมนุษย์ ซึ่งตั้งมั่นอยู่ในดินแดนอันมี อาณาเขตแน่นอน มีอำนาจอธิปไตยที่จะใช้ได้อย่างอิสระ และ มีการปกครองอย่างเป็นระเบียบ เพื่อประโยชน์ของมนุษย์ที่อยู่รวมกันนั้น.“ราชการ”
“ข้าราชการ”
“เจ้าพนักงาน”
“รับ” หมายความว่า ตกลงตาม เช่นรับทำ.
“ปฏิบัติ”
“การเมือง”
๐ งานที่เกี่ยวกับรัฐ หรือแผ่นดิน เช่น วิชาการเมือง ได้แก่วิชาว่าด้วยรัฐ การจัดส่วนแห่งรัฐ และ การดำเนินการแห่งรัฐ.
๐ การบริหารประเทศเฉพาะที่เกี่ยวกับ นโยบายในการบริหารประเทศ เช่นการเมืองระหว่างประเทศ ได้แก่การดำเนิน นโยบายระหว่างประเทศ.
๐ กิจการอำนวย หรือ ควบคุม การบริหารราชการแผ่นดิน เช่นตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่อำนวยการบริหารแผ่นดิน ได้แก่ คณะรัฐมนตรี หรือ ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่ ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร มีการกระทำอันมีเจตนาอื่นแอบแฝงอยู่, เช่นป่วยการเมือง.
๐ ภาษาปาก (ภาษาพูด) เป็นคำกริยาวิเศษณ์ หมายความว่า มีเงื่อนงำ ,
(ในสังคมไทยปัจจุบัน โดยเฉพาะพวกที่เรียกตนเองว่า “นักการเมือง” และ บรรดา สื่อมวลชน จะพูดถึงคำว่าการเมือง ในความหมายของภาษาพูด จึงทำให้คำว่าการเมืองมีความหมายไปในทางที่ไม่ดี ทำให้คนไทยเข้าใจความหมายผิดๆ)
การบริหารบ้านเมือง จึงหมายความถึง การจัดการ สั่งการ ควบคุมดูแล กิจการงาน ทั้งหลายของบ้านเมือง หรือ ประเทศ หรือ แผ่นดิน หรือ รัฐ ซึ่งตามกฎหมายใช้คำว่า เป็นคำนาม มีความหมายหลายความหมาย ได้แก่.หมายความว่า ดำเนินการไปตามระเบียบแบบแผน เช่น ปฏิบัติราชการ.หมายความว่า บุคคลผู้ได้รับแต่งตั้ง ให้ ปฏิบัติราชการ ไม่ว่าเป็นประจำ หรือชั่วคราว และหมายความรวมถึงบุคคลผู้ทำหน้าที่ช่วยราชการ ซึ่งกฎหมายให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานเฉพาะกรณีด้วย.หมาย ความว่า บุคคลซึ่งรับราชการ โดยได้รับเงินเดือนจาก งบประมาณรายจ่าย หมวดเงินเดือน เช่น ข้าราชการพลเรือน, ข้าราชการการเมือง, ข้าราชการทหาร, ข้าราชการครู, ข้าราชการฝ่ายตุลาการ. เป็นต้น. หมายความว่า การงานของรัฐบาล หรืองานของพระเจ้าแผ่นดิน.หมายความว่า ประเทศชาติ รัฐ.หมายความถึง คณะ บุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน ๓๕ คน เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐).หมายความว่า องค์กรที่ใช้อำนาจบริหารในการปกครองประเทศ.หมายความว่า บอกไว้เพื่อให้ทำ หรือปฏิบัติ.หมายความว่า สั่งงาน ควบคุมงาน ดำเนินงาน.หมายความว่า เอาใจใส่ ปกปักรักษา ปกครอง.หมายความว่า ป้องกันรักษา ระวังรักษา ปกป้องรักษา.“ การบริหารราชการแผ่นดิน”ราชการแผ่นดิน

งานเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักร, งานเกี่ยวกับการเงิน การคลัง, งานด้านที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับต่างประเทศ, การเกษตร, การประมง, การปศุ-สัตว์, การคมนาคม, การขนส่ง, การพาณิชย์, การบำบัดทุกข์บำรุงสุข, การรักษาความสงบเรียบร้อย และ การรักษาความมั่นคงภายในประเทศ, การศาล, การศาสนา, การศึกษา, การแพทย์, การสาธารณสุข, การอุตสาหกรรม เป็นต้น.งานต่างๆเหล่านี้ เป็นงานของบุคคลผู้มี ตำแหน่งทางราชการ ซึ่ง มีหน้าที่ และ มีอำนาจ ตามกฎหมาย ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อ รักษาประโยชน์ส่วนรวม อำนวยความสะดวก และ ให้บริการแก่ปวงชนชาวไทย (รธน.มาตรา ๗๐)มี มากมายหลายประเภท หลายลักษณะ ไม่สามารถทำโดยบุคคลคนเดียว หรือ คณะเดียวได้ เพราะต้องการความรู้ความสามารถ หรือความชำนาญเฉพาะแต่ละงาน เช่นการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นหน้าที่ของใคร?การบริหารราชการแผ่นดิน เป็นหน้าที่ ของ คณะบุคคล คณะหนึ่ง เรียกว่า “ คณะรัฐมนตรี” แต่ รัฐมนตรี จะบริหารราชการตามอำเภอใจไม่ได้ จะต้อง บริหารราชการแผ่นดิน ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และ ตามนโยบาย ที่ได้แถลงไว้ต่อ รัฐสภา และต้อง รับผิดชอบ ต่อสภาผู้แทนราษฎร ในหน้าที่ของตน รวมทั้ง ต้องรับผิดชอบร่วมกัน ต่อรัฐสภา ในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรี (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๐๑, ๒๑๑, และ ๒๑๒)
ในการปฏิบัติหน้าที่ บริหารราชการแผ่นดิน ผู้มีหน้าที่ จะต้องมี อำนาจ สำหรับ ใช้บังคับบุคคลผู้อยู่ใต้อำนาจบริหารให้จำต้องปฏิบัติตาม และ อำนาจนั้นต้องเป็นอำนาจที่มีกฎหมายรับรอง ดังนั้นจึงต้องมีกฎหมายบัญญัติให้ อำนาจ กำหนดหน้าที่ และ ความรับผิดชอบ ของเจ้าพนักงานผู้ ที่มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน และ กฎหมายจะต้อง กำหนดระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน และ ความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลธรรมดา กับ เจ้าหน้าที่ของรัฐไว้ด้วย
ลักษณะของความสัมพันธ์ หรือ เกี่ยวพันของบุคคล ในเรื่องการบริหารประเทศ หรือ บริหารบ้านเมือง เป็น ความสัมพันธ์ ระหว่าง บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางราชการ ให้มีหน้าที่ ปฏิบัติราชการ ซึ่งเรียกว่า เจ้าพนักงาน กับ สามัญชน หรือบุคคลธรรมดา หรือ ความสัมพันธ์ ระหว่าง ผู้มีอำนาจปกครอง กับ ผู้ถูกปกครอง

กฎหมายที่ใช้บริหารราชการแผ่นดิน
คำว่า “บริหาร” มีความหมายอีกความหมายหนึ่งว่า “ปกครอง” กฎหมาย ที่บัญญัติเพื่อ ใช้ในการบริหารบ้านเมือง หรือ บริหารราชการแผ่นดิน ไม่ใช่กฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นเรื่องของเอกชน หรือเรื่องส่วนบุคคล ในทางวิชาการ เรียกกันว่า
หรือ ปกครองประเทศ ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกฎหมายแม่บท ในการจัดระเบียบการปกครองประเทศ และ จะต้องมี พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง, พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการเลือกตั้ง, พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา, และ พระราชบัญญัติต่างๆ ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินโดยเฉพาะ เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน , พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม , พระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การต่างๆของรัฐ, เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายต่างๆ, พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง , พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่, พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ เป็นต้น.“กฎหมายปกครอง”สรุปกฎหมาย สำหรับริหารราชการแผ่นดิน (กฎหมายปกครอง) เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเป็นกรอบบังคับให้ บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางราชการ ซึ่งเรียกว่า ข้าราชการ มีหน้าที่ ต้องปฏิบัติราชการ ตามอำนาจที่กฎหมายกำหนด เพื่อ รักษาประโยชน์ส่วนรวม อำนวยความสะดวก และ ให้บริการแก่ปวงชนชาวไทย (รัฐธรรมนูญๆ มาตรา ๗๐) (ไม่ใช่ให้มาทำตัวเป็นนายปวงชนชาวไทย)กฎหมายปกครอง จึงมี องค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญ ๕ ประการ คือ(๑) สถาบัน (๒) ตำแหน่ง (๓) หน้าที่ (๔) อำนาจ (๕) ความรับผิดชอบ
“สถาบัน”
กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อ จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และจัดตั้งส่วนราชการได้แก่ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔. (ราชการในเมืองที่เป็นที่ตั้งของรัฐบาล หรือ ที่เรียกว่า “เมืองหลวง” ) (ราชการในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งโดยเฉพาะ)ได้แก่
กฎหมาย จัดแบ่งส่วนราชการของรัฐ หรือ ประเทศ หรือ บ้านเมือง ออกเป็น ๓ ส่วน คือ
๑. ราชการส่วนกลาง
๒. ราชการส่วนภูมิภาค (ราชการในเมืองอื่นนอกจากเมืองหลวง หรือที่เรียกว่า “หัวเมือง” )
๓. ราชการส่วนท้องถิ่น
ส่วนราชการ หรือ องค์กรสำหรับเป็นที่ปฏิบัติราชการ มีชื่อเรียก ต่างๆกัน ได้แก่
๑. ส่วนราช ส่วนกลาง
(๑).สำนักนายกรัฐมนตรี.
(๒) กระทรวง หรือ ทบวง ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง.
(๓) ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือ กระทรวง.
(๔) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัด หรือไม่สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือ ทบวง
๒. ส่วนราชการ ส่วนภูมิภาค
(๑) จังหวัด
(๒) อำเภอ
๓. ส่วนราชการ ส่วนท้องถิ่น
(๑) องค์การบริหารส่วนจังหวัด
(๒) เทศบาล
(๓) สุขาภิบาล
(๔) ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด
ส่วนราชการที่กฎหมายจัดตั้งขึ้น ในแต่ละส่วนราชการ มีชื่อเรียกต่างๆกันไปตามลักษณะของงานราชการ เช่น
กระทรวงกลาโหม
กระทรวงยุติธรรม
ในส่วนราชการที่ชื่อ กระทรวงยุติธรรม กฎหมายยังกำหนดให้มีส่วนราชการย่อยลงไป เพื่อแบ่งหน้าที่การงานภายในอีก คือ (๑) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมคุมประพฤติ (๔) กรมบังคับคดี (๕) สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ. (มาตรา ๒๒)กฎหมายกำหนดให้เป็น สถาบัน ที่มี อำนาจหน้าที่ เกี่ยวกับการศาลยุติธรรม แต่ไม่รวมถึงการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี. (มาตรา ๒๔)กฎหมาย กำหนดให้เป็นสถาบัน ที่ มี อำนาจหน้าที่ เกี่ยวกับ การป้องกัน และรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักร จากภัยคุกคามทั้งภายนอก และ ภายในประเทศได้แก่ได้แก่
ได้แก่ ส่วนราชการ (สถานที่ทำงาน) ที่กฎหมายตั้งขึ้น เพื่อให้มีหน้าที่ และ อำนาจในการปฏิบัติราชการ หรือ ทำงานของรัฐบาล มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ตามหน้าที่การงาน“ตำแหน่ง”
“รัฐมนตรีว่าการกระทรวง” เป็นตำแหน่งบริหารสูงสุดในกระทรวง มีฐานะเป็น ผู้บังคับบัญชาข้าราชการทั้งหมดในกระทรวง มีอำนาจกำหนดนโยบายของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หรืออนุมัติ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวง.หมายความถึง ฐานะทางราชการ ของข้าราชการที่ปฏิบัติราชการในส่วนราชการต่างๆ มีหน้าที่ และ อำนาจ ตามที่กฎหมายกำหนด มีชื่อเรียกต่างๆกันไป เช่น“หน้าที่”
กฎหมายจะกำหนด หน้าที่ ไว้ให้ผู้ที่มี ตำแหน่ง ต่างๆในราชการต้องปฎิบัติ. เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ เกี่ยวกับการศาลยุติธรรม แต่ไม่รวมถึงการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม.หมายความถึง การงานที่ควรทำ, การงานที่ต้องทำ, วงแห่งกิจการ.“อำนาจ”
๐ อิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้องยอมทำตาม ไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจหรือไม่.
๐ ความสามารถบันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์.
หน้าที่ และ อำนาจ เป็นของคู่กัน และจะต้องเป็น หน้าที่ และ อำนาจตามกฎหมายเท่านั้น กฎหมายมักจะใช้เป็นคำรวมกันไป คือ “อำนาจหน้าที่”กฎหมายจะกำหนด หน้าที่ และ อำนาจออกเป็น ๒ ประการ คือ อำนาจหน้าที่ของสถาบัน ที่เป็น ส่วนราชการ ซึ่งจะกำหนดไว้เป็นกรอบกว้างๆ กับ หน้าที่ และ อำนาจของบุคคล ที่เป็น ข้าราชการ หรือ เจ้าพนักงาน ที่ดำรงตำแหน่งต่างๆในส่วนราชการต่างๆ.
การปฏิบัติหน้าที่บางอย่างไม่ต้องใช้อำนาจ เช่น หน้าที่ทำความสะอาดสถานที่ราชการ หน้าที่ส่งเอกสาร หน้าที่ของพนักงานการพิมพ์หนังสือ เป็นต้น.หมายความถึง“ความรับผิดชอบ”
แต่ เมื่อนำไปใช้ในกฎหมายที่กำหนดหน้าที่ของเจ้าพนักงานไว้ จะหมายความถึงความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ซึ่งหมายความถึงภาระหน้าที่ ที่จะต้องปฏิบัติงานในหน้าที่ให้สำเร็จ ลุล่วงไปด้วยดี เกิดประโยชน์ แก่ทางราชการ และปวงชนชาวไทย สมความมุ่งหมาย หรือ เป้าประสงค์ ของทางราชการ หากทำไม่สำเร็จ หรือ ทำแล้วเกิดความบกพร่องเสียหาย ก็ไม่ได้รับ ความดีความชอบ ซึ่ง อาจถูกโยกย้าย ให้พ้นจากหน้าที่ได้ หากเกิดความเสียหายเกินกว่าที่ควรจะเป็นตามความนิยม หรือ ความต้องการของสังคม หรือ ของบุคคลที่รู้ผิด รู้ชอบ ตามปกติ ที่ในทางกฎหมายใช้คำว่า "วิญญูชน" อาจต้องมีความผิดทางวินัย หรืออาจต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในฐานละเมิดได้ หากกระทำการใดๆอันเข้าลักษณะที่กฎหมายถือว่าเป็นการทำละเมิด ยิ่งกว่านั้น หากการกระทำเข้าลักษณะที่กฎหมายอาญา บัญญัติว่าเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้ ก็ต้องรับโทษทางอาญาอีกด้วย.หมายความถึง การยอมตามผลที่ดี หรือ ไม่ดีในกิจการ ที่ได้ทำไป.(๒) บทบัญญัติที่ใช้บังคับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
ข้อบังคับของกฎหมายประเภทนี้ ไม่ใช่ข้อบังคับ ที่บัญญัติ เพื่อประโยชน์ในการบริหารบ้านเมือง ซึ่งเป็นเรื่องของทางราชการเหมือนกฎหมายปกครอง หากแต่บัญญัติ เพื่อ กำหนดระเบียบความสัมพันธ์ หรือความเกี่ยวพัน ระหว่าง บุคคล.คำว่า “บุคคล” หมายความถึงบุคคลตามความหมายของกฎหมาย ซึ่งกฎหมายที่บัญญัติถึงเรื่องของบุคคลไว้ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๑ ลักษณะ ๒ แบ่งบุคคลออกเป็น ๒ ประเภท คือ
(๑) บุคคลธรรมดา
(๒) นิติบุคคล.
(๑) บุคคลธรรมดา หมายความถึง คน หรือ มนุษย์ ซึ่งสามารถมีสิทธิ และหน้าที่ตามกฎหมาย.(๒) นิติบุคคล
นิติบุคคลจะต้องมี ผู้แทนของนิติบุคคล คนหนึ่ง หรือหลายคน ตามที่ กฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง กำหนดไว้ เป็น ผู้แสดงออกถึงความประสงค์ของนิติบุคคลนั้น (มาตรา ๗๐).
กฎหมายประเภทนี้ จะวางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างบุคคล ในเรื่องที่เกี่ยวกับ หมายความถึง กลุ่มบุคคล หรือ องค์กร ซึ่งกฎหมาย บัญญัติให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่ง ที่ไม่ใช่บุคคลธรรมดา และ ให้มีสิทธิ และ หน้าที่ตามกฎหมาย องค์กรนั้นอาจเป็นองค์กรของรัฐที่กฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลด้วย.สถานภาพ สิทธิ หน้าที่ และ ความรับผิด ของบุคคล และ ความเกี่ยวพันทาง การค้า หรือ ธุรกิจ ระหว่างบุคคล ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ตามกฎหมาย ได้แก่ กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์ กฎหมายอาญา และ พระราชบัญญัติต่างๆที่มีลักษณะเดียวกัน.สำหรับกฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่มีลักษณะแตกต่างจาก กฎหมายแพ่ง และกฎหมายพาณิชย์ โดยกฎหมายอาญา จะมุ่งเน้นถึง การทำโทษ บุคคล ผู้ก่อให้เกิดความเดือดร้อน ความเสียหาย ต่อความมั่นคงของประเทศ ต่อ ชีวิต ร่างกาย อนามัย สิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศชื่อเสียง และทรัพย์สินของบุคคลอื่น หรือ แก่สังคมโดยรวม เป็นต้น โดย จะกำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด และกำหนดโทษทางอาญาสำหรับการกระทำที่ถือเป็นความผิดไว้.กฎหมายเอกชนจึงมีองค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญ ๔ ประการคือ

(๑) สถานภาพ (๒) สิทธิ (๓)หน้าที่ (๔) ความรับผิด
(๑) สถานภาพ
“ฐานะ”
ความเป็นอยู่ในครอบครัว ได้แก่ในฐานะเป็น บิดา มารดา เป็นบุตร หลาน
ความเป็นอยู่ในสังคม ได้แก่ ในฐานะเป็นประธานในที่ประชุม เป็นหัวหน้าครอบครัว หัวหน้ากลุ่ม. หมายความถึง ฐานะ ตำแหน่ง หรือ เกียรติยศ ของบุคคลที่ปรากฎในสังคม.หมายความถึง ความเป็นอยู่ในครอบครัว, ความเป็นอยู่ในสังคม.ตำแหน่งของบุคคลธรรมดา ไม่ใช่ ตำแหน่งหน้าที่ทางราชการ แต่เป็น ตำแหน่งหน้าที่การงาน ของเอกชน เช่นประธานบริษัท ประธานมูลนิธิ หรือประธานกรรมการ หรือกรรมการองค์กรของเอกชน.(๒) สิทธิ
สิทธิ
การใช้สิทธิ
หากมีบุคคลอื่นละเมิดสิทธิ ล่วงสิทธิ หรือโต้แย้งสิทธิ เราก็ไม่สามารถบังคับด้วยตนเอง เพราะกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้ ผู้ทรงสิทธิจะต้องใช้สิทธิฟ้องร้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย จัดการให้ ตามบทบัญญัติของกฎหมาย เช่นนำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาล เพื่อให้ศาลพิพากษาบังคับให้ หรือ ใช้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้ ที่กฎหมายกำหนดให้มีนั้น ก็ใช้ได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี ของประชาชน หมายความถึง อำนาจที่จะกระทำการใดๆได้ โดยได้รับการรับรองจากกฎหมาย.ไม่เหมือนกับ อำนาจ มีความแตกต่างกันอย่างมาก เพราะ สิทธิ ไม่สามารถใช้บังคับบุคคลอื่นให้ปฏิบัติตามที่ตนต้องการได้ การที่เรามีสิทธิ หรือ เป็นผู้ทรงสิทธิ เป็นเพียง การก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลอื่นที่จะต้องละเว้นไม่กระทำการใดๆอันเป็นการล่วงสิทธิ หรือ ละเมิดสิทธิของเรา เท่านั้น.(รัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๒๖, ๒๗, ๒๘)สิทธิมีหลายประเภท ได้แก่(๑) สิทธิในชีวิตและร่างกาย.
(๒) สิทธิในชื่อเสียง.
(๓) สิทธิในทรัพย์สิน และ.
(๔) สิทธิอื่นๆตามที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร์ไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ บัญญัติไว้ โดยกำหนดให้ออกกฎหมาย ในภายหลัง เช่น สิทธิที่จะได้รับการให้บริการจากรัฐ ในเรื่องการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า ๑๒ ปี โดยรัฐไม่เก็บค่าใช้จ่าย, สิทธิของบุคคลที่มีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ ที่จะได้รับความช่วยเหลือให้มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ, สิทธิของคนพิการ ที่จะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก, สิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานของรัฐ, สิทธิที่จะฟ้องร้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย.
(๑) สิทธิในชีวิตและร่างกาย
(๒)สิทธิในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือ ความเป็นอยู่ส่วนตัว
(๓) สิทธิในทรัพย์สิน
ทรัพย์สิน มี ๒ ประเภท คือ
ก. อสังหาริมทรัพย์๐ ทรัพย์ที่นำไปไม่ได้ คือทรัพย์ที่ติดอยู่กับที่ เช่น ที่ดิน.
๐ ที่ดิน และทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และให้หมายความรวมถึง ทรัพยสิทธิ อันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย.
ข. สังหาริมทรัพย์๐ ทรัพย์ที่นำไปได้ คือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ ตรงข้ามกับอสังหาริมทรัพย์.
๐ ทรัพย์สินอื่น นอกจากอสังหาริมทรัพย์ และรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย.
ได้แก่สิทธิในวัตถุ ทั้งที่มีรูปร่าง และ ไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและ ถือเอาได้.ได้แก่สิทธิ ในเกียรติยศ หรือเกียรติโดยฐานะ ตำแหน่งหน้าที่ หรือ ชาติชั้นวรรณะ ความยกย่องนับถือ ความมีหนัามีตา.ได้แก่ สิทธิที่จะดำรงความเป็นอยู่ สิทธิที่จะกระทำการใดๆ หรือ แสดงกริยาอาการใดๆ หรือพูดได้โดยอิสระ โดยได้รับการรับรองคุ้มครองจากกฎหมาย ทั้งนี้โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น (เสรีภาพ)สิทธิในทรัพย์สิน
(มาตรา ๑๒๙๘ ทรัพยสิทธิทั้งหลายนั้น ท่านว่าจะก่อตั้งขึ้นได้แต่ด้วยอาศัยอำนาจในประมวลกฎหมายนี้ หรือ กฎหมายอื่น)ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรียกสิทธิชนิดนี้ ว่า “ทรัพยสิทธิ”พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้คำนิยามความหมายของคำว่า “ทรัพยสิทธิ” ไว้ว่า“ทรัพยสิทธิ” หมายความถึง สิทธิเหนือทรัพย์ ที่จะก่อตั้งขึ้นได้แต่ด้วยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย.
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนด สิทธิเหนือทรัพย์สิน หรือ ทรัพยสิทธิ ไว้ ๗ ชนิด คือ
(๑) กรรมสิทธิ์
(๒) สิทธิครอบครอง
(๓) ภาระจำยอม
(๔) สิทธิอาศัย กฎหมายแพ่งและพานิชย์ กำหนดให้มีแต่ สิทธิอาศัยในโรงเรือน. (มาตรา ๑๔๐๒–๑๔๐๙)(๕) สิทธิเหนือพื้นดิน
(๖) สิทธิเก็บกิน
(๗) ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ข้อผูกพัน ที่ผู้รับประโยชน์ มีสิทธิ ได้รับชำระหนี้ เป็นคราวๆ จาก อสังหาริมทรัพย์ ที่ตกอยู่ในภาระติดพัน หรือได้ใช้ และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้. (๑๔๒๙–๑๔๓๔)ได้แก่สิทธิ ซึ่ง ผู้ทรงสิทธิ มีสิทธิครอบครอง ใช้ และ ถือเอาซึ่งประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์. (มาตรา ๑๔๑๗–๑๔๒๘)คือ สิทธิเป็นเจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือ สิ่งเพาะปลูก บนดิน หรือใต้ดินนั้น. (มาตรา ๑๔๑๐–๑๔๑๖)ได้แก่ ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของ อสังหาริมทรัพย์ จำต้องรับกรรมบางอย่าง ซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่าง อันมีอยู่ในกรรมสิทธิทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่ อสังหาริมทรัพย์ อื่น เช่น ทางภาระจำยอม. (มาตรา ๑๓๘๗–๑๔๐๑)( ดู ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ เรื่อง ทรัพย์สิน)ได้แก่ สิทธิทั้งปวง ที่เจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จำหน่าย ได้ดอกผล กับทั้งสิทธิติดตาม และเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน และสิทธิขัดขวางมิให้บุคคลอื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้น โดยมิชอบด้วยกฎหมาย. (มาตรา ๑๓๐๘–๑๓๖๖) ได้แก่สิทธิของบุคคลที่จะยึดถือทรัพย์สินไว้ โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน. (มาตรา ๑๓๖๗–๑๓๘๖)(๓) หน้าที่
หน้าที่มี ๒ประเภท คือ หน้าที่ตามกฎหมาย และหน้าที่ตามนิติกรรม หรือสัญญา.
หน้าที่ตามกฎหมาย
หน้าที่ตามสัญญา ได้แก่การมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา เช่นเป็นลูกหนี้ ก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัตการชำระหนี้ตามมูลหนี้ . ได้แก่หน้าที่ที่กำหนดไว้โดยชัดแจ้ง ตามรัฐธรรมนูญ หมวด ๔ (มาตรา ๖๖–๗๐) เช่น มีหน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎหมาย หน้าที่ป้องกันประเทศ และ การมีหน้าที่ต้องเคารพสิทธิของบุคคลอื่น ต้องละเว้นไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น.หมายความถึง กิจที่ควรทำ, กิจที่ต้องทำ, วงแห่งกิจการ.หน้าที่ของสามัญชน แตกต่างจาก หน้าที่ของเจ้าพนักงาน เพราะ หน้าที่ของเจ้าพนักงาน เป็นหน้าที่ ที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อ รักษาประโยชน์ส่วนรวม อำนวยความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชน (มาตรา ๗๐)(๔) ความรับผิดความรับผิดมี ๒ ประเภท คือ
(๑) ความรับผิดทางแพ่ง หมายถึง การมีหน้าที่ผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องชำระหนี้ หรือ กระทำการ หรือ งดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง.(๒) ความรับผิดทางอาญา
โทษสำหรับลงแก่ผู้กระทำความผิด มี ๕ ประการ คือ(๑) ประหารชีวิต (๒) จำคุก (๓) กักขัง (๔) ปรับ (๕) ริบทรัพย์สิน หมายความถึงการรับ โทษทางอาญาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายอาญา.(มาตรา ๑๘)หมายเหตุบุคคล ที่ไม่มีตำแหน่งหน้าที่ และอำนาจ ตามกฎหมาย (ข้าราชการ หรือ พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ) ไม่มีความรับผิดทางวินัย
สรุป เรื่องประเภทของกฎหมายกฎหมาย แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ(๑) กฎหมายที่ใช้ในการบริหารบ้านเมือง
กฎหมายปกครอง มีองค์ประกอบ ที่เป็นสาระสำคัญ ๕ ประการ คือ ๑. สถาบัน ๒. ตำแหน่ง ๓. หน้าที่ ๔. อำนาจ ๕. ความรับผิดชอบ.
เป็น กฎหมายที่กำหนดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลผู้มีอำนาจปกครอง กับ บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง กับ ผู้ถูกปกครอง และ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง กับผู้ปกครองด้วยกัน กฎหมายประเภทนี้ บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในการบริหารประเทศโดยเฉพาะ ในทางวิชาการเรียกกันว่า “กฎหมายปกครอง”(๒) กฎหมายที่ใช้บังคับบุคคลในความสัมพันธ์ระหว่างกัน
กฎหมายเอกชน มีองค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. สถานภาพ ๒. สิทธิ ๓. หน้าที่ ๔. ความรับผิด
เป็นกฎหมายที่กำหนดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลธรรมดา หรือ สามัญชน ด้วยกัน ทางวิชาการเรียกว่า “กฎหมายเอกชน”ข้อสังเกต๑. กฎหมายเอกชน ไม่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินแต่อย่างใด แม้ว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะมีตำแหน่งหน้าที่ในทางบริหารราชการก็ตาม.
๒. กฎหมายเอกชนจะใช้คำว่า “สิทธิ” ไม่ใช้คำว่า “อำนาจ”.
๓. กฎหมายเอกชน ใช้คำว่า “ความรับผิด” ไม่ใช้คำว่า “ความรับผิดชอบ”.
๔. คำว่า “อำนาจ” และ “ความรับผิดชอบ” ในกฎหมายเอกชน จะใช้ในกรณี ผู้แทนของนิติบุคคล หรือ ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ในสถาบันครอบครัว.
๕. ถ้อยคำต่างๆ เหล่านี้ บางครั้งกฎหมาย ก็ใช้โดยตรง บางครั้ง ใช้คำนิยามแทน ซึ่งเมิ่อแปลความหมายกลับแล้ว ก็จะได้ความเป็นอย่างเดียวกัน.๔. กฎหมาย ต้องมีสภาพบังคับคำว่า “บังคับ” เป็นคำกริยา หมายความว่า ใช้อำนาจสั่งให้ทำ หรือสั่งให้ปฏิบัติ, ให้จำต้องทำ.กฎหมายที่ประกาศใช้บังคับประชาชนให้ต้องปฏิบัติตามนั้น ประกอบด้วย กฎหมาย ๒ ลักษณะ คือ กฎหมายสารบัญญัติ และ กฎหมายวิธีสบัญญัติ ซึ่งต้องใช้ประกอบกัน จะขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไม่ได้ หากขาดส่วนหนึ่งส่วนใด กฎหมายก็จะไม่สมบูรณ์ ไม่มีสภาพบังคับ.คำว่า “สาร, สาระ” หมายความว่า ส่วนสำคัญ, ข้อใหญ่ใจความ, แก่นสาร. จึงหมายความถึง กฎหมายที่บัญญัติ เพื่อกำหนดเนื้อหา หรือข้อความที่เป็นสารสำคัญ เกี่ยวกับ สถาบัน สถานะ อำนาจ สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ความรับผิด ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้วยกัน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับรัฐ ข้อห้าม ข้อบังคับต่างๆ ได้แก่ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน, กฎหมายแพ่งและพาณิชย์, กฎหมายอาญา, และพระราชบัญญัติต่างๆ.กฎหมายวิธีสบัญญัติ คืออะไร?คำว่า "วิธี" หมายความว่า ทำนอง หรือหนทางที่จะทำ, แบบ, เยี่ยงอย่าง, กฎเกณฑ์.
ตัวอักษร "ส" เป็นคำประกอบหน้าคำอื่นที่มาจากภาษาบาลี และ สันสกฤต บ่งความว่า กอบด้วย, พร้อมด้วย, เช่น สเทวก หมายความว่า พร้อมด้วยเทวดา.
กฎหมายวิธีสบัญญัติ
บัญญัติ หรือ กระบวนพิจารณา เพื่อให้กฎหมายสารบัญญัติ มีผลบังคับที่เห็นเป็นรูปธรรม ทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม จึงจะได้รับความรับรอง คุ้มครอง บังคับตามสิทธิ จะฝ่าฝืนไม่ได้ หากฝ่าฝืน ก็จะไม่ได้รับการรับรอง คุ้มครอง และอาจ ได้รับโทษ หรือ อาจถูกบังคับให้ปฏิบัติตาม ได้แก่ ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาคดีพิเศษต่างๆ เช่น คดีภาษี คดีแรงงาน คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น. จึงหมายถึง กฎหมายที่ ประกอบด้วย หรือพร้อมด้วย มาตรการ แบบ วิธีการ หนทาง หรือ แนวทาง และ ขั้นตอนการบังคับใช้กฎหมายสาร
กฎหมายสารบัญญัติ

กฎหมายสารบัญญัติ คืออะไร?มาตรการบังคับของกฎหมาย
กฎหมายได้กำหนดมาตรการ และ วิธีการบังคับไว้ ๒ ประเภทคือ(๑) การลงโทษ
(๒) การบังคับให้ปฏิบัติตามข้อบังคับ.
ผู้ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายอาญา จะต้องรับผิดในทางอาญา โดยจะต้องถูกลงโทษตามกฎเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้
(๑) การลงโทษ
คำว่า "โทษ" หมายความว่า มาตรการที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับ ดำเนินการแก่ ผู้กระทำความผิดอาญาโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายอาญา มี ๕ ประการคือ
๑. ประหารชีวิต ๒. จำคุก ๓. กักขัง ๔. ปรับ ๕. ริบทรัพย์สินคำว่า " ลงโทษ" หมายความว่า ทำโทษ เช่น จำขัง จำคุก เป็นต้น.
(๒) การบังคับให้ปฏิบัติตามข้อบังคับ
เว้นแต่
*********************************
ในชั้นบังคับคดี บางกรณี คดีที่ศาลออกคำบังคับให้ผู้แพ้คดี หรือ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา (กระทำการ หรือ งดเว้นกระทำการ) เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามคำบังคับแล้ว ผู้แพ้คดี หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา จงใจไม่ปฏิบัติตามหมายบังคับคดี และผู้ชนะคดี หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีวิธีบังคับอื่นใดที่จะใช้บังคับได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้อำนาจศาลที่จะออกหมายจับผู้แพ้คดี หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษามากักขังไว้ เพื่อบังคับ แต่ห้ามมิให้กักขังแต่ละครั้งเกินกว่า หกเดือน นับแต่วันจับหรือกักขัง แล้วแต่กรณี (ป.วิแพ่ง. มาตรา ๒๙๗, ๓๐๐.)การบังคับให้ปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎหมาย เป็นสภาพบังคับทางกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่ การบังคับให้ชำระหนี้ หากไม่ชำระจะถูกบังคับยึดทรัพย์สินออก ขายทอดตลาด เพื่อนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ หรืออาจถูกฟ้องให้ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เป็นต้น ไม่มีการลงโทษเหมือนกรณีฝ่าฝืนกฎหมายอาญา.
(ไม่เกี่ยวกับ การบริหารกิจการบ้านเมือง)
(๑) พระมหากษัตริย์. (๒) คณะปฏิวัติ หรือรัฐประหาร. (๓) สภาผู้แทนราษฎร. (๔) รัฐสภา. (๕) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (๖) คณะรัฐมนตรี.