วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับบัตรประจำตัวประชาชน

กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับบัตรประจำตัวประชาชน คือ พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542
กฏหมาย ที่เกี่ยวข้องกับบัตรประจำตัวประชาชน เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นพลเมืองไทย โดยจะต้องเป็นบุคคลผู้มีนสัญชาติไทย มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 70 ปี ต้องยื่นขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือที่ทำการกิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขตที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ มีรายละเอียดดังนี้
  • วิธีการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ใน การขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ขอต้องยื่นคำขอพร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอตามระเบียบที่กรมการปกครอง กำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเวลา 90 วัน นับแต่
  1. วันที่มีอายุครอบ 15 ปีบริบูรณ์
  2. วันที่ได้สัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทยตามกฏหมายว่าด้วยสัญชาติ
  3. วันที่นายทะเบียนเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
  4. วันที่พ้นสภาพจากการได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน
หลักฐานที่ต้องนำไปในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แก่
  1. สูติบัตรหรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบสุทธิ
  2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  3. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุลทั้งของตนเอง และของบิดามารดา
  4. ใบสำคัญประจำคนต่างด้าวของบิดา มารดา หากถึงแก่กรรมให้นำใบมรณบัตรมาแสดง
  5. ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการทำ
  • การขอมีบัตรในกรณีไม่ได้ทำบัตรตามกำหนดระยะเวลามาก่อน หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงมีดังนี้
  1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  2. นำพยานบุคคล เช่น บิดา มารดา เจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือไปให้คำรับรอง
  3. หลักฐานอื่นๆ เช่น สูติบัตรหรือหลักฐานการศึกษา หนังสือสำคัญการเปลี่ยนตัว ชื่อตัว ชื่อสกุล ทั้งของตนเอง และของบิดามารดา (ถ้ามี) ใบสำคัญทางทหาร (ถ้ามี) ใบสำคัญประจำคนต่างด้าว หากถึงแก่กรรมให้นำใบมรณบัตรมาแสดง
  4. เปรียบเทียบปรับไม่เกิน 200 บาท
  5. ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการทำบัตร
  • การขอมีบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ การขอมีบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนใหม่นั้นทำได้ในกรณีดังต่อไปนี้
    1. บัตรเก่าหมดอายุ
    2. บัตรเก่าสูญหายหรือถูกทำลาย
    3. บัตรเก่าชำรุดในสาระที่สำคัญ เช่น รูปถ่ายเจ้าของบัตรฉีกขาดจนไม่เห็นเค้าหน้าของเจ้าของบัตร เป็นต้น
    4. มีการแก้ไขชื่อตัว หรือชื่อสกุล หรือทั้งชื่อตัวและชื่อสกุล ในทะเบียนบ้าน
  • การขอมีบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ ทำได้ในกรณีต่อไปนี้
    1. บัตรเก่าหมดอายุ
    2. บัตรเก่าสูญหายหรือถูกทำลาย
    3. บัตรเก่าชำรุดในสาระที่สำคัญ เช่น รูปถ่ายเจ้าของบัตรฉีกขาดจนไม่เห็นเค้าหน้าของเจ้าของบัตร เป็นต้น
    4. มีการแก้ไขชื่อตัว หรือชื่อสกุล หรือทั้งชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้าน

  • การขอเปลี่ยนบัตรใหม่ เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ
    บัตรประจำตัวประชาชนจะมีอายุใช้ได้คราวละ 6 ปี นับแต่วันที่ออกบัตร เมื่อบัตรหมดอายุ ผู้ถือบัตรนั้นต้องไปยื่นคำร้องขอมีบัตรใหม่ ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง มีดังนี้
    1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
    2. บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ
    3. ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการทำ
  • การขอมีบัตรใหม่ในกรณีบัตรเดิมสูญหาย หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงมีดังนี้
    1. ใบแจ้งความบัตรหาย
    2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
    3. หลักฐานเอกสารซึ่งมีรูปถ่ายของผู้มีบัตรและเป็นเอกสารซึ่งทางราชการออกให้
    4. เสียค่าธรรมเนียมในการทำ 10 บาท
  • การขอเปลี่ยนบัตรเนื่องจากเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนบ้าน หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงมีดังนี้
    1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
    2. บัตรประจำตัวประชาชนบัตรเก่า
    3. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนแปลง เช่น หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า
    4. เสียค่าธรรมเนียมในการทำ 10 บาท
  • ความผิดและโทษของผู้ฝ่าฝืน ไม่ทำตามกฏหมายเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
    1. ไม่ขอมีบัตรภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
    2. บัตรหมดอายุ บัตรหาย บัตรถูกทำลาย เปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ไม่ยื่นขอมีบัตรใหม่ภายใน 60 วัน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
    3. ไม่ส่งมอบบัตรคืนให้กับ พนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วัน หลังจากเสียสัญชาติไทย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    4. ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย หรือแสดงหลักฐานเป็นเท็จเพื่อขอมีบัตร ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นผู้มีสัญชาติไทย หรือใช้บัตรซึ่งตนหมดสิทธิ์ใช้เมื่อเสียสัญชาติไทยแล้ว ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท
    5. เอาบัตรของผู้อื่นไป หรือยึดบัตรของผู้อื่น หรือใบรับรอง หรือใบแทนรับรองของผู้อื่น เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท
    6. ไม่อาจแสดงบัตรหรือใบรับหรือใบแทนใบรับบัตรประจำตัวประชาชนของตน เมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตรขอตรวจ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
  • ผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แก่
    1. พระภิกษุ สามเณร
    2. ข้าราชการ
    3. นักโทษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น